หัวข้อ   “ประเมินผลงาน 3 เดือน รัฐบาล นายกฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร”
 
                 ด้วยวันที่ 8 พฤศจิกายนเป็นวันที่ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เข้าดำรงตำแหน่ง
นายกรัฐมนตรี ครบ 3 เดือนศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) จึงได้ดำเนินการ
สำรวจความคิดเห็นของประชาชนเรื่อง “
ประเมินผลงาน 3 เดือน รัฐบาล นายกฯ
ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
”  โดยเก็บข้อมูลจากประชาชน อายุ 18 ปีขึ้นไปทุกภูมิภาคทั่วประเทศ
พบว่า ประชาชนให้คะแนน
การปฏิบัติหน้าที่ในฐานะนายกรัฐมนตรีของ นางสาวยิ่งลักษณ์
ชินวัตร เฉลี่ย 4.98 คะแนนจากคะแนนเต็ม 10 คะแนน โดยได้คะแนนด้านความขยัน
ทุ่มเทในการทำงานเพื่อแก้ปัญหาของประเทศมากที่สุด 5.61 คะแนน  ในขณะที่
ได้คะแนนด้านความเด็ดขาด กล้าตัดสินใจน้อยที่สุด 4.34 คะแนน ทั้งนี้ เมื่อเปรียบ
เทียบกับคะแนนเฉลี่ยของอดีตนายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในการสำรวจครั้งล่าสุด
เมื่อเดือนธันวาคม 2553 พบว่า นายกฯ ยิ่งลักษณ์มีคะแนนเฉลี่ยน้อยกว่า 0.19 คะแนน
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
 
                 สำหรับคะแนนความพึงพอใจผลงาน 3 เดือน ของรัฐบาลนางสาว
ยิ่งลักษณ์ พบว่าได้คะแนนเฉลี่ย 4.78 คะแนนจากคะแนนเต็ม 10 คะแนน โดยได้
คะแนนด้านการต่างประเทศมากที่สุด 5.09 คะแนน ในขณะที่ได้คะแนนด้านเศรษฐกิจ
น้อยที่สุด 4.52 คะแนน ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับคะแนนเฉลี่ยของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์
พบว่า รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์มีคะแนนเฉลี่ยมากกว่า 0.17 คะแนน
 
                 ส่วนคะแนนความพึงพอใจต่อการทำงานของพรรคแกนนำรัฐบาล  พรรคร่วมรัฐบาล  พรรคแกนนำ
ฝ่ายค้านและพรรคร่วมฝ่ายค้าน (จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน) พบว่า พรรคเพื่อไทยได้คะแนนมากที่สุด 4.84
คะแนน รองลงมาเป็นพรรคประชาธิปัตย์ 4.26 คะแนน พรรคร่วมรัฐบาลได้ 4.06 คะแนน และพรรคร่วม
ฝ่ายค้านได้ 3.94 คะแนน
 
                 ทั้งนี้เมื่อถามถึงความเชื่อมั่นต่อรัฐบาล ในการช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบภัยหลังน้ำท่วมพบว่า
ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 55.8 เชื่อมั่นค่อนข้างมากถึงมากที่สุด  และร้อยละ 44.2 เชื่อมั่นค่อนข้างน้อย
ถึงน้อยที่สุด
 
                 โปรดพิจารณารายละเอียดดังต่อนี้
 
             1. คะแนนความพึงพอใจการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะนายกรัฐมนตรีของ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
                 พบว่า ได้คะแนนเฉลี่ย 4.98 คะแนนจากคะแนนเต็ม 10 คะแนน ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับ
                 คะแนนเฉลี่ยของอดีตนายกฯ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (สำรวจเมื่อ เดือนธันวาคม 2553)
                 พบว่า มีคะแนนเฉลี่ยน้อยกว่า 0.19 คะแนน

 
นายอภิสิทธิ์
(คะแนนที่ได้)
น.ส.ยิ่งลักษณ์
(คะแนนที่ได้)
มากกว่า/
น้อยกว่า
ความขยันทุ่มเทในการทำงานเพื่อแก้
ปัญหาของประเทศ
5.96
5.61
- 0.35
ความซื่อสัตย์สุจริต
5.63
5.35
- 0.28
การรักษาผลประโยชน์ส่วนรวมของ
ประเทศชาติ
5.18
5.04
- 0.14
ความสามารถสร้างสรรค์ผลงานหรือ
โครงการใหม่ๆ
4.93
4.87
- 0.06
ความสามารถในการบริหารจัดการตาม
อำนาจหน้าที่ ที่มี
5.01
4.68
- 0.33
ความเด็ดขาด กล้าตัดสินใจ
4.31
4.34
+ 0.03
คะแนนเฉลี่ย
5.17
4.98
- 0.19
 
 
             2. คะแนนความพึงพอใจผลงาน 3 เดือน ของรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร พบว่าได้คะแนน
                 เฉลี่ย 4.78 คะแนนจากคะแนนเต็ม 10 คะแนน ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับคะแนนเฉลี่ยของ
                 รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ พบว่า มีคะแนนเฉลี่ยมากกว่า 0.17 คะแนน

 
นายอภิสิทธิ์
(คะแนนที่ได้)
น.ส.ยิ่งลักษณ์
(คะแนนที่ได้)
มากกว่า/
น้อยกว่า
ด้านการต่างประเทศ
4.44
5.09
+ 0.65
ด้านความมั่นคงของประเทศ
4.45
4.83
+ 0.38
ด้านสังคมและคุณภาพชีวิต
5.06
4.82
- 0.24
ด้านการบริหารจัดการและการบังคับ
ใช้กฎหมาย
4.38
4.62
+ 0.24
ด้านเศรษฐกิจ
4.71
4.52
- 0.19
คะแนนเฉลี่ย
4.61
4.78
+ 0.17
 
 
             3. คะแนนความพึงพอใจต่อการทำงานของพรรคแกนนำรัฐบาล พรรคร่วมรัฐบาล พรรคแกนนำ
                 ฝ่ายค้านและพรรคร่วมฝ่ายค้าน (จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน) พบว่า พรรคเพื่อไทยได้ 4.84
                 คะแนน   รองลงมาได้แก่ พรรคประชาธิปัตย์ 4.26 คะแนน พรรคร่วมรัฐบาลได้ 4.06 คะแนน
                 และพรรคร่วมฝ่ายค้าน 3.94 คะแนน


 
คะแนน
พรรคแกนนำรัฐบาล
( พรรคเพื่อไทย )
4.84
พรรคแกนนำฝ่ายค้าน
( พรรคประชาธิปัตย์ )
4.26
พรรคร่วมรัฐบาล
( พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคพลังชล พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน
  พรรคมหาชน )
4.06
พรรคร่วมฝ่ายค้าน
( พรรคภูมิใจไทย พรรครักประเทศไทย พรรครักษ์สันติ พรรคมาตุภูมิ )
3.94
 
 
             4. ความเชื่อมั่นต่อรัฐบาล ในการช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบภัยหลังน้ำท่วม พบว่า

 
ร้อยละ
ค่อนข้างมากถึงมากที่สุด
โดยแบ่งเป็นค่อนข้างมากร้อยละ 40.4   และมากที่สุด 15.4
55.8
ค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด
โดยแบ่งเป็นค่อนข้างน้อยร้อยละ 30.9   และน้อยที่สุดร้อยละ 13.3
44.2
 
 
รายละเอียดในการสำรวจ
ระเบียบวิธีการสำรวจ:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ  โดยการ
สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) และใช้วิธีเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบพบตัวและการสุ่ม
สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,168 คน เป็นเพศชายร้อยละ 50.9 และเพศหญิงร้อยละ 49.1
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) และสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ เครื่องมือที่ใช้ในการ
เก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal)   จากนั้น
คณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  3 - 7 พฤศจิกายน 2554
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 8 พฤศจิกายน 2554
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:    
             ชาย
595
50.9
             หญิง
573
49.1
รวม
1,168
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 25 ปี
225
19.2
             26 – 35 ปี
321
27.5
             36 – 45 ปี
321
27.5
             46 ปีขึ้นไป
301
25.8
รวม
1,168
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
693
59.4
             ปริญญาตรี
401
34.3
             สูงกว่าปริญญาตรี
60
5.1
             ไม่ระบุการศึกษา
14
1.2
รวม
1,168
100.0
อาชีพ:
 
 
             ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ
218
18.7
             พนักงาน / ลูกจ้่าง บริษัทเอกชน
270
23.1
             ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว
285
24.4
             รับจ้างทั่วไป
185
15.8
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
83
7.1
             อื่นๆ อาทิ นิสิตนักศึกษา อาชีพอิสระ ว่างงาน
127
10.9
รวม
1,168
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
Email: bangkokpoll@bu.ac.th      โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776